Boonniyom Communication: Right Media Readme Life
- Close

[HOME]
[ฝั่งฝันเพื่อฟ้าดิน]
[สังคมไทยวิกฤกติ เพราะการศึกษาที่ผิดพลาด]
[thik globally but act locally]
[สื่อมอมเมาคือ message ที่เป็นอสาระของฝ่ายเทพ แต่เป็นสาระ ของฝ่ายมาร]
[ยอมจำนนกับการศึกษาในวังวน]
[เปิดทางสวรรค์]
[บุคคล 4 จำพวก]
[ทำงานกับวงการสื่อมาตลอด]
[แบบจำลองการสื่อสาร กับสิ่งที่ข้าพเจ้าคิด]

[สัจธรรมในการสื่อสารบุญนิยม]
[จากทฤษฎีของ Berlo ถึง Kaviya พัฒนาเป็นทฤษฎีการสื่อสารบุญนิยม]
[การประยุกต์ใช้ระบบการสื่อสาร เพื่อการพัฒนามนุษย์]
[การสื่อสารภายในบุคคล กับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในองค์กรบุญนิยม]
[หนังสือธรรมะ คือเจ้าใบ้เสียงดัง]
[ไม่ปฏิเสธทฤษฎีการสื่อสารตะวันตก ยุคการสื่อสารบุญนิยม]

[ทฤษฎีการสื่อสารบุญนิยม]
[มรดกทุนทางสังคม]
[กุญแจ 5 ดอก กลไกของการสื่อสาร]
[ภารกิจและหน้าที่ ของการสื่อสารบุญนิยม]

[ประสบการณ์นิเทศศาสตร์ สู่การสื่อสารเชิงบูรณาการ]
[นิเทศศาสตร์สุนทรีย์]
[ตัวตนของข้าพเจ้า]
[องค์ความรู้บุญนิยม]

email: sudin.expert@yahoo.com
phone: 08-9644-1048


 

ทฤษฎีการสื่อสารบุญนิยม.

ทฤษฎีสังขารธรรม (Theory of Material Qualities)

สังขารธรรม คือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของทุกสรรพสิ่งบนโลก และในระบบจักรวาล หลักธรรมชื่ออุปาทายรูป (Derivative materiality) ได้กล่าวถึงวัตถุธรรม ทั้งหลายในโลก แบ่งออกได้เป็น 10 ประเภท 24 ประการ

ประเภทที่ 1 ประสาทรับรู้ (Sensitive, Awareness) ได้แก่อวัยวะที่มีประสาทรับอารมณ์ มี 5 อย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย

ประเภทที่ 2 อารมณ์ (Sense-field) คือแดนรับรู้ หรือวิสัยที่จะรู้ คู่กับประสาทรับรู้ มี 5 อย่างเช่นกัน คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสรู้สึก

ประเภทที่ 3 เพศ (Sex) คือ สภาวะตามธรรมชาติ มี 2 ลักษณะ คือ ความเป็นหญิง หรือ
อิตถินทรีย์ (Femininity) และความเป็นชาย หรือ ปุริสินทรีย์ (Masculinity) ส่วนคนที่สับสนทางเพศ คือกายกับจิตผิดเพศ น่าปวดหัวที่สุด ไม่รู้ว่าจะจัดเข้ากับสังขารธรรมข้อใด

ประเภทที่ 4 จิตใจ (Mind) มีลักษณะเดียวก็คือ ที่ตั้งของใจ (Heart-base)

ประเภทที่ 5 ชีวิต (Life) ก็คือองค์ประกอบที่ทำให้มีชีวิตดำรงอยู่ได้ เรียกว่า ชีวิตินทรีย์ (Life faculty) ก็มีอย่างเดียวเช่นกัน

ประเภทที่ 6 อาหาร (Food, Nutrition) ได้แก่ กวฬิงการาหาร คืออาหารที่เรารับประทาน เพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้ ไม่เกี่ยวกับ หิน ปูน หรือ CTX ดังที่นักการเมืองถูกกล่าวหาพัวพัน คอรัปชั่น

ประเภทที่ 7 เทศะ (Delimitation) ได้แก่ อากาศธาตุ หรือช่องว่าง (Space-element)

ประเภทที่ 8 การสื่อสาร (Communication) แบ่งเป็น 2 อย่าง คือ ภาษากาย หรือ กายวิญญัตติ (Bodily Intimation, Gesture) และ ภาษาใจ หรือ วจีวิญญัติ (Verbal Intimation, Speech)

ประเภทที่ 9 อาการ (Alterability) แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ ความเบา หรือ ลหุตา (Lightness) ความอ่อนสลวย หรือ มุทุตา (Pliancy, Malleability) และ ความใช้การได้ ควรแก่การงาน หรือ กัมมัญญตา (Adaptability, Wildness)

ประเภทที่ 10 ลักษณะ (Feature) มี 4 อย่าง คือ ความก่อตัว หรือ อุปจย (Growth, Integration) ความสืบต่อ หรือ สันตติ (Continuity) ความทรุดโทรม หรือ ชรตา (Decay) ความปรวนแปรแตกสลาย หรือ อนิจจตา (Impermanence)

(อภิ.วิ.35/36/19; วิสุทธิ.3/20; สงฺคห.35.)

ข้าพเจ้าได้นำหลักการแบ่งวัตถุธรรม 10 ประเภท มาจัดแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบที่เป็นสังขารธรรม เพื่อให้เห็นองค์รวมและบริบทต่างๆ และเพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารจัดการระบบนิเวศโดยอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือ

ตารางแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบสังขารธรรม

ระดับ
สังขารธรรม

องค์ประกอบ
(Factor of Causality Compounded)

คุณลักษณะ และ สถานะ
(Specification & Status)

ประเภทของสังขารธรรม

ระดับธาตุ หรือ สสาร(Mass)

ของแข็ง + ของเหลว + อุณหภูมิ + อากาศ + ช่องว่าง เรียกว่า ธาตุทั้ง 5 (ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม, อากาศ)

สสาร + พลังงาน
(Mass + Power)

สิ่งไม่มีชีวิต หรือ วัตถุ (Material) หรือ ดิน

ระดับพีชะ (Organism)

ธาตุทั้ง 5 + อาหาร (Food) [1]

สสาร + พลังงาน + กริยา [2]
(Mass + Power + Action)

สิ่งมีชีวิต ประเภท พืช (Plant)

ระดับ เดรัจฉาน
(Wildness)

ธาตุทั้ง 5 + อาหาร + ภูตะ [3] (ความรู้สึก-รับรู้ได้)

สสาร + พลังงาน + กริยา + กรรม + วัฎฎะ
(Mass + Power + Action + Motion + Eternity)

สิ่งมีชีวิต ประเภท สัตว์
(Animal)

ระดับปุถุชนหรือ มนุษย์ (Homo Sapiens)

ธาตุทั้ง 5 + อาหาร + ภูตะ (ความรู้สึก-รับรู้ได้) + ปาณะ (วิญญาณ) [4] + กิเลส

สสาร + พลังงาน + กริยา + กรรม + วิบาก
(Mass + Power + Action + Motion + Effect)

สิ่งมีชีวิต ประเภท คน หรือ มนุษย์
(Human)

ระดับเทวะ (Super Maning or Goodness)

ธาตุทั้ง 5 + อาหาร + ภูตะ + ปาณะ + ภพ [5] (สวรรค์)

สสาร + พลังงาน + กริยา + กรรม + วิบาก
(Mass + Power + Action + Motion + Effect)

สิ่งมีชีวิต ประเภท เทพ หรือ พระเจ้า(God)

ระดับธรรมะ (Integrity) หรือระดับเหนือชีวิต (Being Null)

ธาตุทั้ง 5 + อาหาร + ภูตะ + ปาณะ + สุญญตา [6]

สสาร + พลังงาน + กริยา + กรรม + กาละ [7]
(Mass + Power + Action + Motion + Time)

สิ่งที่มีชีวิต
ประเภท ธรรม (Dharma)

คำอธิบาย

1 อาหาร คือ การเคลื่อนที่ หรือแปรสภาพของ ธาตุทั้ง 5 ออกมาเป็นพลัง หรือกำลังงาน (energy)

2 กริยา หมายถึง อาการที่เป็นผลจากการแปรสภาพของ ธาตุทั้ง 5

3 ภูตะ คือ จิตใจ ที่สามารถรับรู้ได้ หรือรู้สึกได้ เมื่อสัมผัสกับ (1) อุณหภูมิ (2) แสง สี (3) เสียง (4) รส (5) กลิ่น (6) ผิวหนัง (7) อารมณ์

สัตว์ไม่สามารถรับรู้เรื่อง ปาณะ หรือ วิญญาณได้ ดังนั้น ความดีความชั่ว สัตว์ไม่รู้จัก กรรมของสัตว์ จึงเป็น วัฎฎะ มิใช่วิบาก เพราะกรรมนั้นขาดเจตนา ด้วยเหตุนี้ ภพ ชาติ ชรา มรณะ ของสัตว์จึงยาวนาน

4 ปาณะ หรือ วิญญาณ คือ การรับรู้ได้ เรียนรู้ได้ มีจริงได้ และ เป็นจริงได้ (being) ในเรื่องของ (1) ความดี-ความชั่ว (2) จริง-เท็จ (3) ศิลปะ-อนาจาร (4) ควรทำ-ควรละเว้น (5) ความหมด-ความหลงเหลือ ส่วน กิเลส เป็นเครื่องแบ่งเขตความเป็นปุถุชน กัลยาณชน มนุษยชน โดยนับเอาความหนาแน่น หรือเบาบาง (อาการ: action ลิงค: origination นิมิต: happen อุเทศ: meaning) เป็นตัวชี้วัด

ถ้ารับรู้ได้ เรียนรู้ได้ เป็นได้แค่เพียง “คน” ถ้าถึงขึ้น มีจริงได้ เป็นจริงได้ ก็เรียก “มนุษย์”
จนถึงขั้น “เทวดา”

5 ภพ คือ ความติด ความเหลือ ที่ค้างอยู่ในจิต (ชีวะนุปาทิ-ชีระนุปาทิ) หรือ ค้างอยู่ในวัฎฎะ (ภพ ชาติ ชรา มรณะ) บางทีก็เรียก สัคคะ หรือ สวรรค์

6 สุญญตา หรือ ความว่าง (null) คือ สภาวะที่ไม่หลงเหลือสิ่งหนึ่งสิ่งใดต่อไปนี้ ไว้ในจิตและวิญญาณเลย ได้แก่ ความชั่ว ความเท็จ สังโยค อกุศล อวิชชา (ทุกข้อมีค่าเป็น 0)

7 กรรม ของสิ่งมีชีวิตระดับธรรม เป็นกรรมบริสุทธิ์ ที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งใด หรืออะไร คงมีเวลาเท่านั้นเป็นสิ่งที่ดำเนินไปคู่กับกรรม หรือการกระทำ ผู้ที่มีกรรมกับกาละเป็นเครื่องดำเนินไป เรียก อรหัตตบุคคล เป็นบุคคลผู้ที่ไม่เหลือแม้ ชีวะนุปาทิ และ ชีระนุปาทิ มีชีวิตเพื่อผู้อื่น หมดสิ้นอัตตาตัวตน เป็นสุญญตบุคคล หรือ สรรพัญญูบุคคล ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต มีแต่ปัจจุบัน

ไม่ว่าจะเป็นสังขารธรรมประเภทใด ระดับใดก็ตาม จะมีส่วนที่เป็น ธาตุทั้ง 5 ประกอบอยู่ด้วยเสมอ ดังนั้น หากมีผู้กล่าวว่า คนระดับธรรมที่บรรลุธรรมถึงขั้นนิพพานนั้น ไม่มีอยู่จริงบนโลกปัจจุบัน ย่อมกล่าวแย้งกับหลักสังขารธรรม เพราะร่างกาย ชีวิต จิตวิญญาณของท่านยังมีอยู่ แต่สิ่งที่ไม่มีคือกิเลส ตัณหา อุปาทาน

พัฒนาการของสังขารธรรม จากสิ่งที่เป็นวัตถุไปสู่ความมีชีวิตระดับต่ำ พัฒนาให้สูงขึ้นเป็น สัตว์ เป็นคน เป็นมนุษย์ (ผู้มีจิตใจสูง) เป็นศาสดา นั้นล้วนต้องใช้กระบวนการสื่อสารบุญนิยมแทบทั้งสิ้น


การสื่อสารบุญนิยม มีแบบจำลองที่มีลักษณะและองค์ประกอบเฉพาะของตนเอง โปรดดูขั้นตอนการประเมินกลับ (effect, feedback, interaction) เป้าหมายสำคัญของการสื่อสาร คือ ให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพทั้งแก่คน และองค์กร ดังนั้น การแบ่งคุณภาพและศักยภาพของสิ่งมีชีวิตระดับคน ตามตารางแสดงความสัมพันธ์ของสังขารธรรม ซึ่งกำหนดคุณลักษณะ และคุณภาพแยกย่อยอีก 3 ระดับ คือ คนธรรมดา คนชั้นเทพ และคนชั้นธรรม ใช่ว่าสิ่งมีชีวิตอันอื่น หรือแม้วัตถุไร้ชีวิต จะไม่มีส่วนสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับคน แต่มันคือองค์ประกอบหนึ่งของสมดุลย์ทางสังขารธรรมบนพื้นพิภพนี้

ด้วยเหตุนี้ สาระสัจจะ จึงไม่ควรมองข้ามหรือละทิ้งองค์ประกอบของสังขารธรรม ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตสื่อสาระต่างๆ นั้นมีคุณค่า ตลอดจนกระบวนการสื่อสารทั้งหมดทั้งมวล ก็จะไม่ไร้สาระเหมือนดังเช่นทุกวันนี้ ที่ละเลยไม่ใส่ใจระบบของสังขารธรรมดังที่ข้าพเจ้าได้ชี้แจงไว้

 

ทฤษฎีความรัก 10 มิติ (Theory of the 10 Dimensions of Love)

สมณะโพธิรักษ์ เป็นผู้บรรยาย ความรัก 10 มิติ ไว้เมื่อ 15 ปีก่อน ทำให้โลกทัศน์ มุมมองเรื่องความรักมิใช่แค่เรื่องเพศเท่านั้น แต่ยังมีความหมายที่ลุ่มลึกยิ่งกว่าที่คนทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงได้ โดยเฉพาะความรักในมิติที่ 9 มิติที่ 10 ซึ่งเป็นความรักของสังขารธรรม ระดับพระเจ้า (เทพ, ธรรม)


ความรักมิติที่ 1 เป็นความใคร่อยากใน กาม การสมสู่ของหญิง ชาย เรื่องของคน 2 คน ไม่เผื่อนแผ่ไปให้ใครเลย นอกจากคนเพียง 2 คนเท่านั้น

ความรักมิติที่ 2 เป็นความรักระหว่างสายโลหิต พ่อ-แม่-ลูก ขยายขอบเขตของความรัก กว้างขึ้นมาอีกเล็กน้อย แต่มีขอบเขตแค่คนในสายเลือดเท่านั้น ไม่มากไปกว่านี้

ความรักมิติที่ 3 เป็นความรักที่แผ่ออกไปถึงญาติ นอกจาก "พ่อ-แม่-ลูก"

ความรักมิติที่ 4 เป็นความรักที่เริ่มขยายออกสู่ผู้อื่นที่นอกจากญาติ คือออกไปสู่ มิตรสหย

ความรักมิติที่ 5 เป็นความรักที่มีอุดมการณ์เพื่อชาติเพื่อประเทศ ผู้มีความรักระดับนี้ สามารถเสียสละถึงขั้นก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้คนทั่วไป ในประเทศชาติได้จริงๆ ไม่แคบอยู่แค่รักเพื่อน

ความรักมิติที่ 6 คือความรักมวลมนุษยชาติ ทุกชาติทุกภาษา ที่เป็นมนุษย์ในโลก ไม่จำกัดเฉพาะ ในชาติของตนเท่านั้น และไม่จำกัดผิวพรรณ เพศ วัย เชื้อชาติ ชั้นวรรณะ

ความรักมิติที่ 7 ยิ่งเป็นความรักที่แผ่กว้างไปสุดมหาเอกภพ คือเป็นความรักที่แผ่ออกไปยังสารขารธรรมทุกระดับ เป็นความรักระดับ "พระเจ้า" ที่รักได้แม้ผู้ที่เป็นศัตรู

ความรักมิติที่ 8 คือ ความรักที่เรียนรู้สังขารธรรมทุกอย่างให้ถ่องแท้ ละเอียดลออ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม โดยเฉพาะ "นามธรรมที่เป็นจิตวิญญาณ" และ"สัจจะแห่งความรัก" ในทุกมิติ จึงจะเกิดความรักระดับนี้ได้ โดยมีความเจ้าใจถึงขั้นที่ว่า "ความรัก" ไม่ใช่อารมณ์ "เฉยๆ..นิ่งๆ.. กลางๆ" หรือไม่ใช่ "อารมณ์ที่หยุดสนิท" แต่เป็นอาการทางจิตที่ต้องการ "ให้" หรือ ต้องการ "เอา" และ ต้องการ "สร้าง" หรือ ต้องการ "ทำลาย"

ความรักมิติที่ 9 คือ ความรักของผู้ที่ได้เรียนรู้ "สัจจะแห่งความรัก" อย่างแท้จริง จนเกิดปรากฎการณ์ผกผันกลับ คือ เลิกมี "ความรัก" นั้นๆเพื่อตัวเอง ไม่เกิด "ความรัก" นั้นเพื่อตัวเองอีกแล้ว หรือ ไม่ต้องการ "เอา" อารมณ์นั้น มาเสพสมใจ เพื่อตนเองอีกแล้ว อย่างมี "สุขสงบ"

ความรักมิติที่ 10 เป็นความรักสมบูรณ์ ของผู้ที่ "จบสัจจะแห่งความรัก" จึง "ไม่มีความรัก" สำหรับตนอีก เหลือแต่ "ความรัก" ผู้อื่นเท่านั้น (ความรักเพื่อ มวลมนุษยชาติ)

(สมณะโพธิรักษ์. ความรัก ๑๐ มิติ ฉบับเขียนใหม่. กรุงเทพฯ: บจก.ฟ้าอภัย. 2544)

มิติของความรักจะแผ่ซ่าน ผสมผสานไปกับการสื่อสาระทุกรูปแบบ ทั้งการสื่อสารภายในบุคคล ที่ต้องเข้าใจ มีจริง เป็นจริงในความรัก ของตนเสียก่อน เพื่อจะสื่อสัจจะของตนไปยังผู้อื่น ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้แสดงความรักในมิติที่สูงขึ้นๆ เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีสาระ สัจจะมากยิ่งขึ้น จนถึงขั้นการสื่อสารระหว่างองค์กร และระหว่างชาติ เช่น การแสดงความรักเพื่อนร่วมชาติ เรื่องจริงที่ข้าพเจ้าจะยกตัวอย่าง คือ คราวที่ประเทศญี่ปุ่นประสบภัยแผ่นดินไหวอย่างหนัก คนไทยนำโดยพลตรีจำลอง ศรีเมือง ได้รวบรวมข้าวหลามจากประเทศไทย ไปบริจาคให้คนญี่ปุ่น ซึ่งสร้างความประทับใจไว้ไม่รู้ลืม เพราะ ณ เวลาวิกฤติเช่นนั้น สิ่งที่ต้องการมากที่สุดคือ อาหารแบบด่วน คงจะไม่มีอะไรด่วนไปกว่าแจกข้าวหลาม ซึ่งไม่ต้องใช้ไฟ คนญี่ปุ่นก็กินข้าวเหนียวอยู่แล้ว และเป็นการให้สิ่งของที่ไม่ต้องเบียดเบียนชีวิตผู้อื่น และไม่เสียค่าใช้จ่ายมาก เพื่อแลกกับชื่อเสียงหน้าตาในความเอื้อเฟื้อของคนไทย

การแสดงความรัก เป็นองค์รวมของรูปแบบการสื่อสาร โดยที่ฝ่ายส่งสารจะต้องเป็นผู้ที่มีความรักในระดับที่สูงกว่า ส่งความรักซึ่งที่เป็นนามธรรมผสมรวมไปในสาร (message) จนถึงผู้รับสาร จะก่อให้เกิดมวลพลังของความรู้สึกที่ดี โดยเฉพาะ การแสดงความรักในมิติที่สูงเท่าใด ของพนักงานในองค์กร ก็จะสร้างบรรยากาศที่ดีให้แก่การทำงาน นี่คือ ส่วนหนึ่งของกระบวนการ สร้างระบบนิเวศองค์กร ดังที่ข้าพเจ้าได้สาธยายไปแล้ว

ชีวิตจะดำรงอยู่ได้ เพราะปัจจัยสี่ และความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย ปัจจัยสี่ และความรู้สึกดังกล่าว เรียกว่า “ความต้องการพื้นฐาน” (Standard Need) ที่จำเป็นต้องมี และจัดหาไว้เป็นสวัสดิการกันเลยทีเดียว หากขาดแคลนเมื่อใด ก็จะเป็นปัญหา หรือความทุกข์ ทันที แต่ความทุกข์ของมนุษย์ไม่ใช่มีเพียงการขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานเท่านั้น ความต้องการที่เกิดจากความใคร่อยาก อยากเสพ อยากมี อยากได้ อยากเป็น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ถ้าไม่มีมัน หรือไม่สนองตอบ ก็จะไม่ทำให้ชีวิตสิ้นสลายลง เรียกความใคร่อยากเหล่านี้ว่า “ความต้องการส่วนเกิน” (Redundancy Need)


บริเวณสีชมพู (รูปสามเหลี่ยมตรงกลาง) คือ ความต้องการส่วนเกิน ที่มนุษย์ต่างแสวงหามาเพื่อตนได้เสพสมใจ ถ้าไม่สมใจก็จะเกิดความไม่สบายใจ รู้สึกอึดอัด เพื่อลดทอนความไม่สบายใจ จึงต้องมีการวิ่งแสวงหาสิ่งที่ใคร่อยากนั้นมาเสพ เพราะรักตัวตนมากกว่าผู้อื่น ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีความรักในมิติที่สูงขึ้นมากเพียงไร ความต้องการส่วนเกินจะลดลงตามอัตราส่วน

บริเวณสีเหลือง (บริเวณสีเหลืองรูปตัววีคว่ำ) คือ ปัจจัยสี่และความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย เป็นความต้องการพื้นฐาน ที่มนุษย์ทุกคนยังต้องการอยู่ เพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่เนื่องด้วยชีวิต หาไม่แล้วหากขาดมันไปอาจทำให้ไม่มีชีวิตอยู่รอด ตลอดจนพิธีการทางสังคมที่สร้างความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย เช่น มาตรฐานความปลอดภัยในด้านอาหาร อากาศ สุขภาพ ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อม และภัยจากอาชญากรรมต่างๆ เป็นต้น ในที่นี่สมมุติให้มีค่าไม่ต่างกัน

ความรักในมิติ ที่ยังเกาะยึดกับบริเวณสีเหลืองและสีชมพู ยิ่งมีปริมาณมากเท่าไร ก็จะทำให้ปริมาณของ ความรักเพื่อผู้อื่น ซึ่งเป็นบริเวณสีน้ำเงิน ยิ่งมีปริมาณน้อยลงเท่านั้น หรือในทางกลับกัน ความรักในมิติที่เกาะยึดกับบริเวณสีเหลืองและสีชมพู ยิ่งมีปริมาณลดน้อยลงเท่าไร ก็จะส่งผลให้ปริมาณของ ความรักเพื่อผู้อื่น มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

ดังนั้น พื้นที่บริเวณสีน้ำเงิน จึงหมายถึง เวลา และพลัง (กรรม และ กาละ) ของบุคคลผู้นั้น ที่จะถ่ายเทออกมาให้เกิดประโยชน์แก่สิ่งรอบข้าง ในรูปของ แรงงาน ปัญญา ความคิด การพูด การกระทำ ที่เสียสละ ไม่คิดค่าตอบแทนใดๆ เพราะไม่ต้องการสิ่งใดๆ มาสนองตอบหรือบำเรอตนเองอีกแล้ว นอกจากความต้องการพื้นฐาน (บริเวณสีเหลืองรูปตัววีคว่ำ)

ท่านใดขี้เกียจหาซื้อหนังสือความรักสิบมิติมาอ่าน ข้าพเจ้ามีเว็บไซต์แนะนำ คือ

http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Book/book009/page01.html

 

ซีดีเพลง เท็ปเพลง

 

ทฤษฎีการสื่อสารภายใน (Intra-communication Theory)

ทฤษฎีการสื่อสารภายในบุคคล ที่ข้าพเจ้ากล่าวอ้างนี้ มาจากการประมวลหลักธรรมสัมมาอริยมรรค ในมหาจัตตารีสกสูตร ตามแนวทางสำนักสันติอโศก และหลักอื่นๆ โดยอาศัยแบบจำลองการสื่อสารบุญนิยมเป็นโครงสร้างของทฤษฎี

แบบจำลองของการสื่อสารภายใน


Input = ผัสสะ 6 (Sense Contact)

Message = ทุกข์-ปัญหา (Suffering)

Process = มรรค 8 (The Path)

Output = ศีล (Body of Morals)

Feedback = (1) อารมณ์ (Emotion) เป็นตัวกับ สมาธิ
(2) ผลกระท้อนกลับ
(3) สัมมาสมาธิ (Right Concentration)

Re-action = พัฒนาการ IMPO ที่มีทิศทางไปสู่ ความเป็นอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา

การสื่อสารภายในเป็นการสื่อสารตามกรอบคิดระบบบุญนิม คือเมื่อบุคคลผู้ใดประสบกับปัญหา หรือความทุกข์ (ผัสสะ) ก็จะรู้สึกอึดอัด อยากไปเสียให้พ้นจากปัญหาหรือความทุกข์เหล่านั้น (ความทุกข์) จึงแสวงหาวิธีการต่างๆ (อริยสัจ 4) โดยเริ่มจากการถามผู้รู้ให้ช่วยหาทางออกให้
(ปรโตโฆสะ) และหรือคิดหาวิธีโดยใช้ปัญญาวิปัสสนา (โยนิโสมนะสิการ) แล้วลงมือปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์ 8 โดยศึกษาทำความเข้าใจในทิฐิให้ถูกตรง (สัมมาทิฏฐิ) พูด กระทำ และประกอบอาชีพที่ถูกต้อง (สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ) โดยอาศัยสติ (สัมมาสติ) ความคิด (สัมมาสังกัปปะ) และความเพียร (สัมมาวายามะ) ที่ถูกตรง หมุนวนเป็นกรอบให้พฤติกรรมการพูด การกระทำ และอาชีพนั้นบริสุทธิ์บริบูรณ์ยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดสมาธิมั่นคงยิ่งขึ้น (สัมมาสมาธิ)

Feedback ดูการพัฒนาของจิต ว่ากระทบผัสสะ แล้วหวั่นไหวหรือไม่ เพียงไร ตัวชี้วัดความหวั่นไหว คือ อารมณ์ (Null Emotion) และ สัมมาสมาธิ (Right Concentration) เกณฑ์บอกพัฒนาการของอารมณ์และสมาธิ คือเมื่อจิตกระทบสัมผัสในครั้งต่อไป (Re-action) หรือรอบถัดไป ก็จะเกิดศีล สมาธิ ปัญญาที่สูงขึ้น

 

มรดกทุนทางสังคม.

ข้าพเจ้าภูมิใจที่มีคุณพ่อเป็นคนขยัน ท่านเป็นชาวนาที่ขยันที่สุดเท่าที่ผมเห็นมา ท่านมีลูก 9 คน ผมเป็นคนที่ 3 พวกพี่ๆ ก็ยังยึดอาชีพทำนา ในระหว่างปิดภาคเรียนเดือนเมษายน เพื่อนๆ เขาไปเที่ยวไปพักผ่อนกัน แต่ข้าพเจ้าต้องไปช่วยพ่อทำความสะอาดแปลงนา เนื่องจากฤดูน้ำหลากที่นาจะเก็บน้ำไว้ระดับหนึ่ง จะมีปลามาอาศัยอยู่ทั่วไป พ่อขุดสระกลางบิ้งนา (เรียกแปลงนาแต่ละแปลงว่า บิ้ง) ไว้หลายบ่อ โชคดีที่พ่อมีรถไถนาเป็นของตนเอง จึงขุดบ่อไว้ทั่วไปหมด

พอถึงฤดูแล้ง พ่อก็จะพาข้าพเจ้าพร้อมพี่ชาย ออกไปช่วยกันเลื่อยซากกิ่งไม้แห้ง หรือโค่นต้นไม้ทั้งต้น ที่นิยมโค่นมากที่สุดคือ ต้นไข่เน่า ซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่ว โค่นแล้วช่วยกันลากไปลงสระ เพื่อว่าเมื่อน้ำมา จะเป็นที่อาศัยของปลา ท่านคิดดูเถิดว่า กลางวันเดือนเมษายน จะร้อนแค่ไหน พ่อเป็นคนทำงานเร็ว เดินก็เร็ว และใจร้อน ทำให้ข้าพเจ้าต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่มีเวลาอู้งาน มีอยู่ปีหนึ่ง ฤดูแล้ง ไม่มีฝนเลย โดยเฉพาะนาของพ่ออยู่ในเขตอับฝน พ่อจึงกลายเป็นนักขุดเจาะน้ำบาลตัวยง ก็อาศัยรถไถนานั่นแหละเป็นเครื่องมือหลักในการช่วยกันขุดน้ำบาดาล การขุดแต่ละครั้งเป็นการสุ่มเสี่ยง ได้น้ำบ้าง ไม่ได้บ้าง การขุดจะต้องทำบ่อพักน้ำไว้ด้วย และจะต้องตักน้ำมาเติมให้เต็มตลอด ข้าพเจ้ารับหน้าที่หาบน้ำจากบ่อระยะทางราว 50 เมตร เหนื่อยก็เหนื่อย ร้อนก็ร้อน

ยังไม่วายที่พ่อมักจะดุด่าว่าข้าพเจ้าว่า เป็นคนขี้เกียจ สันหลังยาว อย่างนี้จะต้องไปเรียนหนังสือ เป็นเจ้าคนนายคน ทำงานหนักก็ไม่ได้ เวลานั้นน้องๆ ก็ยังเป็นเด็กช่วยพ่อได้ไม่มาก ภาระจึงตกหนักอยู่ที่ข้าพเจ้าและพี่ชาย

พ่อเป็นคนขยันงาน และขยันดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง จนอายุย่าง 68 ป่วยเป็นมะเร็งในเส้นเลือด รักษาอยู่ 15 วันก็สิ้นใจ มอบมรดกที่นาซึ่งสูญเสียความสมดุลย์ธรรมชาติไปมากแล้ว ด้วยฝีมือความขยันของพ่อ คือ ทั้งใช้เคมีเกษตร ปลูกพืชเศรษฐกิจทุกชนิด โดยไม่ละเว้นที่จะบำรุงหน้าดิน ที่นาทั้งหมดพ่อได้แบ่งให้ลูกๆ ทุกคน แต่ข้าพเจ้าก็ยกให้น้องๆ ไปหมดแล้ว

มรดกที่พ่อมอบให้แก่ข้าพเจ้า คือความขยัน ความอดทน ทนร้อน ทนหนาว ทนต่อความยากลำบาก เมื่อข้าพเจ้ามาปฏิบัติธรรมก็ได้รับมรดกที่พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์มอบไว้ให้แก่ข้าพเจ้า คือ ความขยันในการสร้างกุศลกรรม อย่าหยุดสร้างกุศลกรรม นับเป็นมรดกที่ล้ำค่าที่สุด

คนทุกวันนี้ ขยันเพื่อเสพ หรือไม่ก็ขยันเพื่อสะสม มากน้อยตามแรงบันดาลของความใคร่อยาก ใคร่บริโภคของแต่ละคน เมื่อเสพมากๆ โทษภัยต่างๆ ก็รุมเร้าตามมา กลายเป็นปัญหาของสังคม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาขยะ ปัญหาอาชญากรรม การขยันแสวงหาความต้องการส่วนเกิน ก็เป็นมรดกที่คนผู้นั้นสร้างไว้ด้วย สะสมไว้ด้วย เป็นมรดกที่ทำลายความผาสุกทั้งของตนเอง และสังคม

ลัทธิบริโภคนิยม ทุนนิยม ได้อาศัยสื่อและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการขยายลัทธิ แนวคิด และอาณาเขต เพื่อจะได้ครอบผู้คนไว้ให้มากที่สุด โดยไม่สนใจว่าสักวันหนึ่งจะเกิดปัญหาอันเนื่องมาจากการบริโภค เสมือนหนึ่งว่า ชายผู้หนึ่งสร้างบ้านไม้หนึ่งหลัง เนื่องจากเป็นคนบริโภคไม้เก่ง ตัดไม้จนหมดป่า พอถึงฤดูหนาวไม่มีฟืนจะก่อไฟ ก็งัดเอาฝาบ้านของตนมาเป็นเชื้อเพลิงแผ่นแล้วแผ่นเล่า พอลมหนาวพัดมา อากาศก็ยิ่งหนาวหนัก เนื่องจากบ้านมีรูโหว่ ก็งัดเอาฝาบ้านมาก่อไฟผิง ทำจนกระทั่งไม้หมดบ้าน เมื่อถึงวันหนึ่ง เขาก็หนาวตาย … เฉกเช่นเดียวกับมนุษย์ผู้ลุ่มหลงในลัทธิวัตถุนิยม ก็จะบริโภคทรัพยากรจนหมด ความเดือดร้อนต่างๆ ก็ตามมา ไม่มีความเป็นพี่น้อง ไม่เหลือความเป็นญาติ ขาดเพื่อนมิตรสหาย ไม่มีความรัก ที่จะให้แก่กัน เพราะทุกคนต่างก็หนีเอาตัวรอด ด้วยการแก่งแย่งกันเอง

สังคมไทยทุกวันนี้กำลังวิกฤติอย่างหนัก เริ่มตั้งแต่วิกฤติทางวัตถุ ทรัพยากร วิกฤติแรงงาน วิกฤติทางการศึกษา วิกฤติทางการเงิน และวิกฤติทางคุณธรรม สรุปรวมแล้ว ผู้ที่เดือดร้อนที่สุดก็คือ คนในระดับล่าง โดยเฉพาะชาวเกษตรกรและผู้ใช้แรงงาน เป็นผู้ถูกกระทำตลอด จนไม่มีใครอยากจะเป็นเกษตรกร ทั้งๆที่ข้าวที่กินทุกวัน เครื่องใช้ไม้สอย ก็มาจากเกษตรกรและผู้ใช้แรงงาน ข้าพเจ้าเห็นว่า สื่อมวลชน และสื่อสารมวลชน เองก็ไม่ต่างไปจากชาวเกษตรกรและผู้ใช้แรงงาน กล่าวคือ เป็นผู้ถูกกระทำโดยนักการเมือง หรือผู้มีอำนาจ ถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนและพวกพ้อง พอสื่อมวลชนอ่อนแอก็ว่าไม่มีจรรยาบรรณ แต่พอมีกำลังขึ้นมาเอาผ้าปิดปากปิดตาเสียดื้อๆ

กลยุทธ์การสร้างทุน

ข้าพเจ้าได้มีโอกาสร่วมทำงานในโครงการพักหนี้เกษตรกรของรัฐบาลชุดปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ.2544 - 2547 คือ โครงการฝึกอบรมพัฒนาคุณภาพและศักยภาพชีวิตเกษตรกร จากที่เคยพึ่งพานายทุน พึ่งพาตลาด หันมาพึ่งตนเอง ลดละเลิกการใช้สารเคมีการเกษตร หันมาใช้น้ำหมักชีวิภาพ ผลิตปุ๋ยน้ำสะอาด ปลูกพืชผักไร้สารพิษ รู้จักซ่อมสร้างสุขภาพ อุดรูรั่วของชีวิต คือเลิกเหล้า บุหรี่ และอบายมุขต่างๆ ให้ได้ จึงจะมีเงินเหลือเก็บ และเหลือใช้หนี้ธนาคาร (ธ.ก.ส.)

ข้าพเจ้ามองเห็นว่า การสร้างคนดี มักน้อย ขยัน ซื่อสัตย์ เสียสละ คือการสร้างทุนให้แก่สังคม ซึ่งต้องอาศัยกลยุทธ์ทางคุณธรรมมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม เป็นการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างหนึ่ง โดยที่สินค้าที่ต้องการขาย ก็คือ ทุนทางสังคม และการขาย ก็คือ การสร้างทุนอย่างเต็มใจ โดยไม่มีตัวเงินเป็นเครื่องล่อ (เงิน เปรียบเสมือนตัวแทนของความโลภ ความใคร่อยาก ความลุ่มหลง และความเคียดแค้น) แต่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นแรงจูงให้เกิดพลังในการสร้างทุน

กล่าวอีกครั้งหนึ่งว่า ทุนทางสังคม ประกอบด้วย คนดี สังคมดี สิ่งแวดล้อมดี ระบบสาธารณโภคี สุขภาวะกาย จิต จิตวิญญาณ และสังคม และความมั่นคงความปลอดภัย

กลยุทธ์ ที่ใช้คือ (1) การลด ปลด หนี้สิน (2) การสร้างเครือข่ายชุมชน (3) การฝึกอบรม ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้จะต้องอาศัยระบบการสื่อสารบุญนิยมมาใช้เป็นเครื่องมือ จึงจะทำให้การดำเนินงานของกลยุทธ์บรรลุผลตามเป้าหมาย คือให้เกิด

1. คิดใหม่ เห็นโทษภัยของอบายมุข มอมเมา การเบียดเบียนสัตว์ คนด้วยกันเอง (พฤติกรรม มักง่าย ใจร้อน สำส่อน อ่อนแอ แพ้ท้อง) เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ปัญหาชีวิต มลพิษ จิตเสื่อม

2. ทำใหม่ ลงมือลด ละ เลิก อบายมุข การพนันทุกชนิด ทำที่ตัวเองให้ได้ก่อน เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่น "เคร่งครัดที่ตน ผ่อนปรนผู้อื่น" เพื่อให้เกิด "ตัวอย่างที่ดี มีค่ากว่าคำสอน"

จากข้อ 1. และ ข้อ 2. นำไปสู่.....

3. คิดเป็น คือ รู้จักวิเคราะห์ แยกแยะ ดี-ชั่ว, ถูก-ผิด, ประโยชน์-โทษ, จริง-เท็จ, สาระ-มายา, ศิลปะ-อนาจาร, ควร-ไม่ควร

4. ทำเป็น คือ รู้จักประยุกต์ใช้ทฤษฎี จากองค์ความรู้ และประสบการณ์ เพื่อลด หรือบรรเทา ทุกข์ปัญหาชีวิต มลพิษ จิตเสื่อม สุขภาพทรุดโทรม ให้ได้ อาจจะทำเป็นครอบครัว เป็นกลุ่ม ขยายออกไปจนเป็นเครือข่าย

4 ประเด็นหลักของโครงสร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง

สังคมในประเทศไทย ถ้ามองในด้านความมั่นคงและความปลอดภัย มีสาระต่างกัน สังคมชนบท มีความมั่นคงในเรื่องของเวลา ที่ไม่ต้องดิ้นรนหรือถูกเร่งรัดเหมือนสังคมเมือง แต่ปัจจัยที่จะให้เกิดแรงจูงใจ หรือการเลือกเฟ้น ไม่ค่อยมี ส่วนสังคมเมืองจะถูกบีบคั้นด้วยเวลาและเงิน แต่มีสิ่งที่ให้เลือกให้แสวงหา (ปัจจัยทางด้าน supply) หลากหลายกว่า สิ่งที่เหมือนกันของสังคมเมืองและสังคมชนบท คือ ลักษณะทุนทางสังคม ที่นับวันจะด้อยคุณภาพ และลดปริมาณลงทุกขณะ เนื่องจากประเทศเป็นสังคมเกษตรกรรม แต่เพิ่งจะมาดัดจริตเอาอย่างตะวันตกคิดจะเป็นสังคมอุตสาหกรรม เอาเมื่อราว 60 ปีมานี่เอง เป็นเหตุให้โครงสร้างทางสังคมเปลี่ยนแปลงไป วิถีชีวิต ทัศนคติ ความเชื่อของประชาชนเปลี่ยนไปในทางวัตถุนิยมมากขึ้น ทำให้เกิดการเบียดเบียนความเป็นทุนทางสังคมมากยิ่งขึ้น ซึ่งถึงเวลาแล้วที่คนไทยทุกฐานะควรจะเอาเรื่อง การสร้างทุนทางสังคมเป็นวาระแห่งทศวรรษ และควรบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ความอุดมสมบูรณ์ของอาหาร ที่อยู่อาศัย สุขภาพอนามัย ตลอดจนความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน สิ่งเหล่านี้คือตัวชี้วัดพัฒนาการทางสังคม ให้ดูที่ 4 ปัจจัยหลัก คือ (1) ระบบการผลิต (2) ระบบการตลาด (3) ระบบการสื่อสาร และ (4) ระบบทุนทางสังคม

(1) ระบบการผลิต หมายถึงการผลิตเครื่องอุปโภคและเครื่องบริโภค ที่ไม่ใช่สิ่งฟุ่มเฟือย ผลาญพร่า มอมเมา ระบบการผลิตก่อให้เกิดสัมมาอาชีพ บริบทของระบบการผลิต ที่จำเป็นต้องนำมาวิเคราะห์ด้วยคือ ปัญหาความต้องการ, เขตเศรษฐกิจชุมชน, การวางแผนการผลิต, การผลิต, คลังสำหรับเก็บหรือจัดวางผลผลิต (store) ผู้ที่อยู่ในวงจรของระบบการผลิต จะเป็นผู้ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด ร่ำรวย เพราะเป็นผู้ผลิตเอง (เทียบกับวรรณะศูทรในสังคมอินเดีย)

(2) ระบบการตลาด หมายถึงการกระจายผลผลิต ไปยังแหล่งเป้าหมาย โดยอาศัยข้อมูลข่าวสารเป็นเครื่องมือวิเคราะห์การตลาด ระบบการตลาดก่อให้เกิดรายได้ และรายได้จะกระจุกตัวหรือกระจายตัว ขึ้นอยู่กับผู้บริหารจัดการการตลาด บริบทของระบบการตลาด ที่จำเป็นต้องนำมาวิเคราะห์ คือ ยุทธศาสตร์การเชื่อมร้อยเครื่อข่าย, ลำดับความต้องการของผลผลิตของชุมชน, การสร้างตลาด, การบริหารและการแลกเปลี่ยน (แลก แจก ซื้อ ขาย)

ผู้บริหารจัดการการตลาดจึงต้องเป็นผู้ที่มีศีล มีคุณธรรม เป็นคนมักน้อย เสียสละได้ระดับหนึ่ง เพราะตนเองมิใช่เจ้าของปัจจัยการผลิตและมิใช่ผู้ผลิต เป็นเพียงผู้จัดสรรให้ผลผลิตลงตัว ควรได้ค่าตอบแทนไม่มาก จึงไม่ร่ำรวยไปกว่าผู้ผลิต (เทียบกับวรรณะแพทย์ หรือพ่อค้าในสังคมอินเดีย)

(3) ระบบการสื่อสาร หมายถึงกระบวนการสื่อสารที่ใช้แบบจำลองการสื่อสารบุญนิยม มาเป็นเครื่องมือ คอยจัดสรรและให้บริการด้านสื่อทั้งทางด้านการวางแผน การผลิต การเผยแพร่ ระบบการสื่อสาร ก่อให้เกิดการพัฒนาสาระ ให้ได้รับประโยชน์สูง ประหยัดสุด เป็นแหล่งค้นคว้าขององค์ความรู้ เป็นแหล่งให้คำปรึกษาและตัดสินใจในด้านการผลิต การตลาด บริบทของระบบการสื่อสารที่จำเป็นต้องนำมาวิเคราะห์ คือ การสร้างจิตสำนึกสาธารณะ, การบริหารความเป็นกลาง และการลงความเห็น, การ วางระบบหลักสูตรการฝึกอบรมต่างๆ ผู้ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการ หรือทำงานในด้านการสื่อสาร จะต้องเป็นผู้มีภูมิธรรม และภูมิรู้สูง มีวิสัยทัศน์ มีอัตตาเหลือน้อย มีความยืดหยุ่นที่พอเหมาะพอดีกับการยืนหยัด คอยทำหน้าที่ประสานงานกับระบบอื่นๆ ให้มีความกลมเกลียวสอดร้อยกัน

ดูดูไป ผู้ที่ทำหน้าที่ด้านการสื่อสาร จะมีฐานะเสมือนผู้ปกครอง มีการใช้อำนาจและการควบคุมอย่างเป็นธรรม เพราะเป็นผู้เดียวที่ครอบครองสื่อ จึงต้องเป็นผู้มีคุณธรรมสูง มักน้อยอย่างยิ่ง มีรายรับน้อย จนถึงกับไม่มีเลย อาศัยปัจจัยสี่จากผู้อื่นที่คอยเลี้ยงดูมิให้ขาดแคลน เป็นคนไม่ผลาญ ไม่สิ้นเปลือง ไม่โลภ ไม่สะสม จึงสมควรได้รับการไว้วางใจในความเป็นผู้มีความมั่นคง ไม่ลำเอียง และยุติธรรม เรียกว่าเป็นคนจน แต่ร่ำรวยในคุณค่า แม้จะร่ำรวยอำนาจ ก็จะไม่ใช้อำนาจนั้นเพื่อสนองกิเลสใคร่อยาก เพราะสิ่งนั้นมันเหลือน้อยแล้ว (เทียบกับวรรณะกษัตริย์ในสังคมอินเดีย)

(4) ระบบทุนทางสังคม เป็นกระบวนการสร้างคน สร้างระบบต่างๆ ให้สอดคล้อง เกิดประโยชน์และความผาสุก เพื่อพหุชน (พหุชนหิตายะ) เพื่ออนุเคราะห์โลก (โลกานุกัมมปายะ) ระบบทุนทางสังคม ก่อให้เกิดสุขภาวะที่ยั่งยืน สุขภาวะที่ยั่งยืน คือ สุขภาพกายดี สุขภาพจิตดี สุขภาพจิตวิญญาณมั่นคง (มีความฉลาดทางอารมณ์) และมีสังคมดี สิ่งแวดล้อมดี ดินงาม น้ำใส ไม้ร่ม ลมพริ้ว วิวสวย รวยน้ำใจ มีไฟทำงาน เบิกบานในธรรม ทำธรรมชาติ บริบทของระบบทุนทางสังคม ได้แก่ องค์ประกอบของทุน (คน, ธรรมะ, สุขภาวะ, องค์กร, กิจกรรม กิจการ, การสื่อสาร) และส่วนประกอบของสังคมที่ดี (ความดี, ความอุดมสมบูรณ์, ความสมดุล, พลัง, คุณค่า)

ผู้ที่ทำหน้าที่สร้างทุนทางสังคม คือ นักบวช เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ เป็นผู้ลงความเห็นและตัดสิน แต่จะไม่ใช้อำนาจ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแก่นักปกครอง (เทียบกับวรรณพราหมณ์ในสังคมอินเดีย)

 

บรรยายกาศภายในพุทธสถานสันติอโศก กรุงเทพมหานคร

ชุมชนแต่ละชุมชนจะเรียนรู้กันเอง เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ชุมชนที่เข้มแข็งแล้วจะคอยเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ชุมชนรุ่นน้อง ในขณะเดียวกันก็จะทำหน้าที่เชื่อมร้อยกับชุมชนอื่น ผ่านระบบการสื่อสารบุญนิยม ข้าพเจ้าเรียกว่า สื่อสารชุมชน (Community Communication) เนื่องจากมีขนาดเล็กกว่าการสื่อสารมวลชน และมีลักษณะเฉพาะ มีความยืดหยุ่นในแต่ละชุมชน

กิจกรรมหลักของชุมชนเข้มแข็ง คือ การปลูกข้าว เรียกข้าวที่ปลูกว่า ข้าวนาบุญ ข้าพเจ้าได้ประพันธ์เพลงเพื่อให้เห็นความสำคัญของข้าว ซึ่งเป็นส่วนของการสร้างทุน โน้มน้าวให้ชาวนาหันมาใช้วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ไม่หนีไปหางานที่กรุงเทพฯ

บุญ คือความเอิบอาบ แห่งน้ำใจของการให้สังคมชนบท ผูกพันอยู่กับน้ำใจของการให้ นั่นคือ
เป็นบ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมของการให้ การเอื้ออาทรซึ่งเป็นสังคมของบุญนิยมคุณค่าของบุญอยู่ที่ความสามัคคีธรรม เป็นความสามัคคี ที่ก่อเกิดผลิตผล ที่เป็นทุนของชุมชน และเป็นทุนของสังคม
ปุ๋ยบุญ นาบุญ และ ข้าวบุญ ล้วนเป็นผลิตกรรมของความมีน้ำใจของคนชาวบุญนิยม

เพลงข้าวนาบุญ
คำร้อง - ทำนอง: สู่ดิน ชาวหินฟ้า (จังหวะรำวง)

(สร้อย)
ขอบคุณ ๆ ๆได้กินข้าวบุญ มาจากนาบุญ ที่ใส่ปุ๋ยบุญ
กสิกรเป็นผู้มีคุณ ผลบุญนั้นก็มีค้ำ กสิกรรมมีผลเจริญ

พวกเรามาฝึกลดละ
เป็นคนใจพระกล้าหาญอดทน
เหล้าบุหรี่พาให้เสียคน (ซ้ำ)
ศักดิ์ศรีปี้ป่น ทุรนทุราย

อยากรวยก็ไปซื้อหวยเบอร์
หลงละเมอหวังลาภก้อนใหญ่
สองมือขยันทำไป (ซ้ำ)
ทำได้เท่าไหร่ จ่ายให้นายทุน
(สร้อย)

พึ่งตนให้ได้พอดี
เกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ให้เป็นไท
สารเคมีก็ไม่ต้องใช้ (ซ้ำ)
ให้อันตรายต่อชีวิตดีๆ

สุขภาพเราก็แข็งแรง
มาช่วยฮอมแฮงคลุกปุ๋ยอินทรีย์
ทำได้เท่าไหร่ แจกจ่ายกันไปซี (ซ้ำ)
ได้ใช้ปุ๋ยฟรี ปุ๋ยดี ปุ๋ยบุญ
(สร้อย)

อยากจนแต่ไม่ยากจน
นี่คือคนจนผู้ยิ่งใหญ่
เป็นคนจนแต่รวยน้ำใจ (ซ้ำ)
ทำกินพอใช้ แจกจ่ายเจือจาน

ชุมชนเราก็เข็มแข็ง
มาร่วมลงแรงสร้างสมอุดมการ
อบรมกสิกรรมไร้สาร (ซ้ำ)
ให้ยั่งยืนนานสถาบันบุญนิยม (สร้อย)

12 สิงหาคม 2547

 

การใช้เครื่องมือสื่อสารการตลาด

การตลาดคืออะไร การตลาดคือ วิธีการที่ทำให้ผู้บริโภค ผู้ซึ่งมีโอกาสเลือกบริโภค (ตัดสินใจซื้อ) สินค้าและบริการ ได้รับความพึงพอใจ และตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการนั้น จะทำให้ได้ยอดขายเพิ่ม คือ กำไร แต่การตลาดบุญนิยมมีนัยะต่างกัน คือ การขาย คือเป้าหมาย มิใช่หลักของการตลาด การขาย คือหน้าที่ของสมาชิกผู้ปฏิบัติธรรมทุกคน ทุนนิยมตั้งธุรกิจขึ้นมาเพื่อแสวงหากำไร แต่บุญนิยม ตั้งธุรกิจ (เรียกธุรกรรม) ขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ธรรม และหลักการ โดยถือเอาแรงจูงใจที่ได้เสียสละ เป็นกำไร กล่าวคือ เสียสละคือกำไร เอาเปรียบคือขาดทุนท่านโพธิรักษ์เรียกทฤฏีนี้ว่า ทฤษฎีกำไร-ขาดทุนอาริยะ การเสียสละก็เสียสละอย่างเป็นธรรม ไม่ทำตนเองให้เดือดร้อน สมมุติว่า สินค้าชิ้นหนึ่ง ตั้งราคาขายไว้ที่ 100 บาท ถามว่า 100 บาท ได้กำไร หรือขาดทุน คำตอบคือต้องคิดราคาต้นทุนเปรียบเทียบกับธุรกิจทั่วไป คือ

รายการคิด

คิดแบบธุรกิจทุนนิยม

คิดแบบธุรกรรมบุญนิยม

ต้นทุนวัตถุดิบ

25 หน่วย

25 - n หน่วย

ต้นทุนค่าขนส่ง ค่ารักษา

5 หน่วย

5 - n หน่วย

ต้นทุนค่าบริหารจัดการ

5 หน่วย

5 - n หน่วย

ต้นทุนค่าแรงพนักงาน

25 หน่วย

25 - n หน่วย

ต้นทุนค่าโฆษณา

20 หน่วย

20 - n หน่วย

ต้นทุนค่าปัญญาความคิด

20 หน่วย*

20 - n หน่วย*

รวม

100 หน่วย

100 - n หน่วย

ราคาขาย

>100 หน่วย

=<100 หน่วย

n หน่วย หมายถึง หน่วยที่เสียสละ เช่น ตุ้นทุนวัตถุดิบอาจไม่ถึง 25 เพราะเป็นเจ้าของผลิตเอง หรือซื้อมาในราคาสมาชิก ค่าขนส่งอาจไม่สูงเพราะอาศัยการฝากส่ง ค่าบริหารจัดการไม่ต้องมีก็ได้เพราะเป็นเจ้าขององค์กรเอง ส่วนค่าแรงงานพนักงาน ก็ไม่แพงเท่าคนทั่วไป เพราะเป็นนักปฏิบัติธรรม มีกรอบของศีลบังคับอยู่ ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย เท่ากับลดต้นทุนเงินเดือนไปมาก และถ้าเป็นคนมีคุณธรรมสูง ยิ่งรับเงินเดือนน้อย (บางคนลงชื่อรับเงิน แต่ตัวเงินบริจาคเข้ากองบุญ ซึ่งเป็นธนาคารของระบบบุญนิยม) ค่าโฆษณาอาจมีบ้างตามกลไกตลาด แต่จะไม่ทุ่มโฆษณาแบบมอมเมา เพราะผลิตภัณฑ์ สินค้าบุญนิยม เป็นของดี ราคาถูก คุณภาพดี เท่ากับเป็นการโฆษณาตัวเองอยู่แล้ว

ถ้าท่านผู้ใดไปซื้อของที่บริษัทพลังบุญ จำกัด เป็นห้างสรรพสินค้า ตั้งอยู่ที่ซอยประสาทสิน ถ.นวมินทร์ แขวงคลองกุ่ม เบตบึงกุ่ม กทม. ท่านจะสังเกตว่าของที่นี่ราคาถูกกว่า สะอาด ไร้สารพิษปนเปื้อน วันเสาร์ อาทิตย์ และวันเทศกาลจะมีรถติดยาวหลายกิโล เพราะมีผู้ไปใช้บริการกันเยอะ

เมื่อเปรียบเทียบราคารวมต้นทุนของสินค้าแล้ว เป็นไปไม่ได้เลยที่ธุรกิจทั่วไปจะขายในราคา เท่ากับ หรือน้อยกว่า 100 หน่วย ต้องกำหนดราคาขายให้สูงที่สุดเท่าที่ผู้ซื้อพอใจจะซื้อ ซึ่งอาจใช้กลยุทธ์ต่างๆ ในการโน้มนาวใจ ไม่อยากเรียกว่ากลยุทธ์มอมเมา แต่ไม่ถึงขั้นหลอกลวง ซึ่งต่างจากการค้าในระบบบุญนิยม เพราะพนักงาน และผู้เกี่ยวข้องทุกคน ส่วนใหญ่เป็นผู้มักน้อยอยู่แล้ว และเป็นนักปฏิบัติธรรมด้วย รู้คุณค่าและสาระดี จึงไม่จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์หลอกล่ออะไร

การสร้างคนให้มีความเข้าใจ เชื่อมั่นและศรัทธาในแนวทางนี้ มิใช่ของง่ายเลย นับว่าท่าน
โพธิรักษ์มีความสามารถส่วนตัวสูง ที่หลอกให้คนมาแกล้งลดละ ขยันซื่อสัตย์ เสแสร้งทำงานฟรีได้ ถ้าท่านเก่งจริงท่านคงจะหลอกคนที่มีปัญญาเท่านั้น คนโง่ท่านหลอกไม่ได้แน่นอน และท่านก็หลอกคนมาแล้วเป็นเวลากว่า 30 ปี ใครกันหนอที่อดทนให้หลอกอยู่ได้ตั้งเป็นสิบปี เดี๋ยวนี้ก็ยังถูกหลอกอยู่ คนเหล่านั้นถูกหลอกจริงหรือ? หรือว่าเขาเป็นเช่นนั้นจริงๆ เป็นสิ่งที่ต้องพิสูจน์

ดังนั้น การสื่อสารการตลาดบุญนิยม จึงต้องควบคุมตัวสาระ ให้อยู่ในเป้าสายตา โดยที่ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร มีความเข้าใจในสารและสื่อตรงกัน ไม่คิดว่า นี่คือการควบคุมสิทธิเสรีภาพของสื่อ หรือมีการใช้อำนาจเหนือสื่อ สื่อสารชุมชน (Community Communication) เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ที่บ่งบอกถึงเสรีภาพ กับ ศีลธรรมนั้น เป็นสิ่งเดียวกันดุจเหรียญสองด้าน บุคคลภายนอกอาจเข้าใจผิดว่า การสื่อสารบุญนิยมอาจเกิดการครอบงำทางสื่อ นั่นเป็นคำตัดสินที่ไม่ถูกต้อง เพราะระบบบุญนิยมมิได้ปิดกั้นการบริโภคสื่อ ผู้ปฏิบัติธรรม หรือสมาชิกไม่ว่าระดับใด ย่อมมีเสรีภาพในการเลือกบริโภคสื่อ เลือกที่จะเปิดรับสื่อ เลือกที่จะตัดสินใจเชื่อไม่เชื่อ เลือกที่จะจดจำในสิ่งที่เป็นสาระ และไม่เป็นสาระ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่เจริญ

แต่โดยพฤตินัยแห่งการปฏิบัติธรรม มีกรอบของศีลเป็นแนววางไว้แล้ว ซึ่งทุกคนทราบดีว่า ถ้าทำผิดศีล คือบาป ขาดทุน ถ้ารักษาศีลได้ ก็เสมอตัว ยังไม่ขาดทุน (ยังไม่มีกำไร) แต่ถ้าเกิดการเสียสละ หรือได้ให้ ไม่ว่าจะเป็นแรงงาน แรงปัญญา หรือสิ่งของก็ตาม เท่ากับได้บุญ มีกำไรเกิดขึ้นแล้ว ตัวหิริโอตตัปปะ จะเป็นเส้นขอบขาวคอยบอกคอยเตือนว่า เวลานี้ พฤติกรรมเช่นนี้ ออกนอกเขตศีล หรืออยู่ในเขตศีล ดังนั้น ผู้ปฏิบัติธรรม ที่มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปสูง ก็จะไม่ละเมิดศีล ส่วนผู้ที่มีพละอินทรีย์อ่อน (พวกอารมณ์อ่อนไหวง่าย เห็นอะไรก็อยากไปเสียทุกเรื่อง) ก็จะอดรนทนไม่ได้ จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะมีคนละเมิดศีลให้เห็นอยู่ และเป็นเสรีภาพอย่างยิ่งที่ว่า ผู้ทำผิดบ่อยๆ ก็จะทนอยู่ไม่ได้ เกิดความละอาย ต้องออกจากหมู่ไป โดยที่ไม่มีใครไล่ นอกจากจะทำผิดตัวบทกฎหมาย

กุญแจ 5 ดอก กลไกของการสื่อสาร.

เรื่องกุญแจ 5 ดอก ข้าพเจ้าคิดขึ้นได้ว่า เมื่อ 20 ปีที่ ข้าพเจ้าเคยเข้ารับการฝึกอบรมการใช้เทคนิคการประชุมแบบ Q.C.C. (Quality Circle Control) และได้ทดลองนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กนักเรียน ได้ผลระดับหนึ่งเพราะไม่ค่อยตรงกับอุปนิสัยคนไทย มีความสามารถส่วนตัวสูง แต่ความสามารถรวมกลุ่มต่ำ คือเก่งกับเก่งอยู่ด้วยกันไม่ได้ ซึ่งวิธีการ Q.C.C นั้นคือการแบ่งเฉลี่ยความเก่งเข้าหากัน พยายามเจาะช่องในสิ่งที่พูดคุยกันได้ มีความเห็นตรงกัน มีเวลาเดียวกัน ร่วมกิจกรรมเดียวกัน นอกนั้นไม่ต้องเอามาเกี่ยวข้อง เพราะจะทำให้เป็นอุปสรรค ทะเลาะกันเปล่าๆ ข้าพเจ้าได้นำหลักกุญแจ 5 ดอก ไปใช้ร่วมกับกลไกการตัดสินใจ กับนักเรียนสัมมาสิกขานับว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

กุญแจ 5 ดอก

(1) กุญแจ เจตนา ดูจากสถานการณ์ ผิดกฎหมาย, บาดเจ็บ หรือทรัพย์สินเสียหาย, บันดาลโทสะ ป้องกันตัว เหตุสุดวิสัย, พยาม ผิดแค่ทางวาจา, ไม่เจตนา หรือประมาท

(2) กุญแจ ผลกระทบ ดูจากสิ่งที่จะเกิด กระทบต่อสาธารณะ, กระทบต่อบุคคล, กระทบต่อทรัพย์สินหรือสัตว์, กระทบต่อชื่อเสียง เกียรติยศ

(3) กุญแจ กรรม ดูจากสาเหตุ กระทำกันเป็นกลุ่ม, ทำเองหรือจ้างวานให้ผู้อื่นทำ, ทำเพราะหลงผิด, ทำเพราะถูกบังคับหรือสถานการณ์จำนน

(4) กุญแจ สำนึก ดูจากจำนวนครั้งที่เกิดขึ้น เกิดซ้ำซาก, เกิดสองสามครั้ง, เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรก, ยอมรับการเกิดขึ้น

(5) กุญแจ ฐานะ ดูจากสถานภาพและ ความน่าเชื่อถือของผู้กระทำ หรือสิ่งที่เกิดขึ้น

หลักความจำเป็น 5 ประการ

(1) ความถี่ของพฤติการณ์

(2) ความรุนแรง

(3) ผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม

(4) ความยากง่ายในการแก้ไข และ

(5) ประโยชน์สูง ประหยัดสุด

นำกุญแจ 5 ดอก มาเข้าสูตรกับหลักความจำเป็น 5 ประการ ถ้ายังไม่พอเพิ่มหลักการตัดสินทางจริยธรรม (ดี ชั่ว, ถูก ผิด, จริง เท็จ, ประโยชน์ โทษ, ศิลปะ อนาจาร, ควร ไม่ควร, สาระ ไร้สาระ, หมด เหลือ) เข้าไปอีก จะทำให้เกิดความเป็น “สัมมา” ยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่จะขาดเลยไม่ได้ คือหลักทางจิตวิทยา คือ การให้ความสำคัญของอารมณ์ สิ่งเร้า และความพึงพอใจ

เช่น จากเหตุการณ์วางระเบิดหน้าห้างสรรพสินค้า จะสื่ออย่างไรให้คนเชื่อว่า เป็นการกระทำผิดที่ไม่ร้ายแรงถึงขั้นจำคุก สิ่งที่ต้องพิจารณาตามหลักกุญแจ 5 ดอก คือ (1) เจตนา ผู้วางระเบิดไม่เจตนา แค่ลองเล่นๆ สนุกๆ (2) กระทบต่อบุคคลไม่รุนแรง เพราะกระจกหน้าห้างแตกบานเดียว ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ (3) เป็นการกระทำที่หลงผิด ทำคนเดียว (4) เพิ่งเป็นการวางระเบิดครั้งแรก (5) เป็นเด็กชายวัย 9 ขวบ คราวนี้มาดูหลักความจำเป็น 5 ประการ (1) ทำครั้งเดียวถูกจับได้เลย (2) ไม่มีคนตาย แต่ของเสียหาย (3) เจ้าของห้างต้องเปลี่ยนบานประตูใหม่ 20,000 บาท (4) ไม่ยาก เพราะจับตัวเด็กได้ทัน การเปลี่ยนกระจกจ้างช่าง และบริษัทมีประกันภัยด้วย (5) ถ้าจับเด็กมาอบรม พร้อมกับพ่อแม่ด้วย จะแก้ปัญหา เรื่องพฤติกรรมก้าวร้าวของเยาวชนได้

คิดดูเถิดว่า ถ้าพาดหัวข่าวว่า “ระเบิดหน้าห้างสรรพสินค้า จับได้คาหนังคาเขา” ผู้อ่านข่าวจะตีความอย่างไร คงนึกไม่พอใจเจ้าคนร้ายคนนี้แน่นอน แต่พออ่านรายละเอียดแล้วความเกลียดชังก็ลดลง การพาดหัวข่าวอย่างนี้ จะเรียกว่ามีส่วนสร้างความรุนแรงได้หรือไม่ หรือว่าเพียงเพื่อสร้างข่าวให้ดูน่าสนใจ ขายได้ อะไรคือความรับผิดชอบต่อสังคม

ภาระกิจและหน้าที่ของการสื่อสารบุญนิยม.

ในระหว่างที่ข้าพเจ้าทำงาด้านการสื่อสารบุญนิยมอยู่ ข้าพเจ้าได้ฟังคำบรรยายธรรมจากสมณะหลายๆ รูป ว่าสิ่งที่ท่านเป็นกังวลมากที่สุดในเวลานี้ก็คือ สื่อต่างๆ ที่อยู่ในโลกในสังคมทุกวัน ขาดความเที่ยงธรรม ส่วนใหญ่รับใช้กลุ่มบุคคลผู้มีอำนาจและกลุ่มนายทุนมากกว่า ประชาชนผู้บริโภคเป็นผู้ถูกกระทำมากกว่า การเผยแพร่ธรรมของชาวอโศก มิใช่แค่เป็นเรื่องของธรรมล้วนๆ แต่จะมีส่วนขององค์ประกอบอื่นๆ ข้าพเจ้าเรียกว่าองค์ความรู้บุญนิยม ที่จะเป็นปัจจัยในการสร้างมนุษย์ให้เป็นคนดี เป็นทุนของสังคม ไม่ใช่เพียงแค่สังคมบุญนิยมเท่านั้น แต่เรายังจะช่วยสังคมภายนอกด้วย สัมดังอุดมการณ์ที่ว่า “เพื่อมวลมนุษยชาติ” โดยแท้จริง

จากทฤษฎี VIEW Communication ของ รศ.ดร.สมควร กวียะ ได้นำมาเทียบเคียงกับบริบทของระบบบุญนิยมทุกส่วนของโครงสร้าง เห็นว่าการสื่อสารบุญนิยมได้ทำหน้าที่ และภาระกิจ ครบถ้วนทุกประการ

(1) ให้ข้อมูลข่าวสาร (Information) แก่สมาชิกและประชาชน และเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์คุณค่าด้วย เพราะจะไม่มอมด้วยสิ่งใดๆ เป็นธรรมะที่ทรงคุณประโยชน์ ผู้ใดปฏิบัติได้ก็จะเป็นผลดีแก่ผู้นั้น ข้อมูลข่าวสารมีทั้งที่เป็นหนังสือพิมพ์ (ข่าวอโศกรายปักษ์) วารสาร (แสงสูญ, น้ำใจ, สารอโศก, ดอกหญ้า, เราคิดอะไร, ดอกบัวน้อย) หนังสือ ซีดี รายการวิทยุโทรทัศน์ และแม้กระทั่งสื่อบุคคล และสื่อปราศรัย (เทศนาสั่งสอนธรรม)

หนังสือพิมพ์เราคิดอะไร วารสารสารอโศก

 

หนังสือพิมพ์ข่วอโศกรายปักษ์ หนังสือเล่มรุ่นแรกๆ

(2) ให้การศึกษาความรู้ (Education) โดยเริ่มจากการจัดการศึกษาที่เป็นสัมมาสิกขาให้แก่เยาวชน ในรูปของศูนย์เด็กเล็ก (เช่น ที่ชุมชนราชธานีอโศกเรียกว่า “สมุนพระราม” ที่ชุมชนศีรษะอโศกเรียกว่า “แซงแซว”), โรงเรียนระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา (สัมมาสิกขา) ระดับอาชีวศึกษา (สัมมาอาชีวสิกขา) และระดับอุดมศึกษา (สัมมาสิกขาลัยวังชีวิต นักศึกษาทุกคนต้องถือศีล 8 วัดการสำเร็จกันที่ปัญญา จึงเรียกปริญญาบัตรที่จะให้แก่ผู้ศึกษาว่า “ปัญญาตรี” “ปัญญาโท” และ “ปัญญาเอก”) ส่วนการให้การศึกษาแก่ประชาชน จะใช้ทั้งสื่อบุคคล (นักบวช) สื่อวัตถุสถานที่ (พุทธสถาน, โรงฝึกงาน) สื่อกิจกรรม พิธีกรรม (งานอบรม งานศาสนพิธี งานพิธีต่างๆ) สื่อเอกสารสิ่งพิมพ์ ซึ่งเป็นสื่อหลักที่ทำกันมานาน สื่อมัลติมีเดีย สื่อสารสนเทศและคมนาคม สื่อปราศรัย ทุกชุมชน ทุกพุทธสถาน (8 แม่ข่ายหลัก) ยินดีให้การศึกษาความรู้แก่ผู้ปราถนาดีทุกคน โดยไม่มีการบังคับ หรือใช้สิ่งหลอกล่อใดๆ

 

 

นักเรียนสัมมาสิกขา ขณะกำลังเรียนหลักสูตรการผลิตสื่อ

 

รายการตามหาแก่นธรรม ที่สันติอโศก นิสิตสัมมาสิกขาลัยวังชีวิต (มวช.) วิชชาเขตศาลีอโศก

(3) เตือนภัยอันตราย (Warning) อยู่ตลอดเวลา ซึ่งภัยในที่นี้หมายถึงภัยอันเกิดจากการกระทำของคนผู้มากด้วยโลภะ โทสะ โมหะ ผู้ปฏิบัติธรรม ถือศีล 5 จะรอดปลอดภัยจากอาชญากรรมทางเพศ และโรคเอดส์ จะมีอายุที่ยืนยาวโดยค่าเฉลี่ย เพราะบริโภคอาหารมังสวิรัติ และอาหารที่ไร้สารพิษปนเปื้อน ตลอดจนเป็นผู้ไม่ประมาทในธรรม จะมีอารมณ์ที่สุนทรีย์เพราะแวดล้อมด้วยศิลปะ จะรอดพ้นจากความยากจน เพราะเป็นผู้มักน้อย ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ จะมีสุขภาพที่แข็งแรงเพราะรักษาสุขภาพด้วยวิธีการ 5 อ. (อ.อาหาร, อ.อากาศ, อ.ออกกำลังกาย, อ.อารมณ์, อ.อิทธิบาท) จะรอดปลอดภัยจากนรก เพราะมีคติที่เป็นบุญเสียสละ หากประชาชนผู้ใดต้องการจะมีความรอดปลอดภัยดังกล่าว โปรดไปพิสูจน์ลองปฏิบัติตาม สักเจ็ดวัน สักหนึ่งเดือน สักหนึ่งปี สักหนึ่งทศวรรษ สักหนึ่งชาติ แล้วท่านจะเห็นว่า ชีวิตเปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร พอใจทำต่อ ไม่พอใจก็เลิกลา …. เท่านั้นเอง

 

(4) ตรวจสอบ และยืนยันความจริง (Verification) สื่อบุคคลจะเป็นผู้ที่ตรวจสอบ และบอกสภาวะธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น ผ่านสื่อสารบุญนิยม แม้กระทั่งการตรวจสอบรัฐ หนังสือวารสารรายปักษ์ “เราคิดอะไร” เป็นสื่อสารการเมืองที่วิพากษ์วิจารณ์วิจัย บอกแนะสิ่งที่ดีที่รัฐควรทำเพื่อประชาชน และนำผลที่เกิดขึ้นจริง เป็นจริง มีจริง แสดงให้ดูเป็นตัวอย่าง เช่น การสร้างเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ตามรอยพระราชดำริของชุมชนศีรษะอโศก จ.ศรีษะสะเกษ ชุมชนราชธานีอโศก จ.อุบาลราชธานี ชุมชนปฐมอโศก ชุมชนสีมาอโศก จ.นครราชสีมา ชุมชนศาลีอโศก จ.นครสวรรค์ ชุมชนหินผาฟ้าน้ำ จ.ชัยภูมิ ชุมชนภูผาฟ้าน้ำ จ.เชียงใหม่ ชุมชนทักษิณอโศก จ.ตรัง และชุมชนอื่นๆ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ

 

นายกรัฐมนตรีเยือนราชธานีอโศก จ.อุบลราชธานี เมื่อปี 2544

(หน้าต่อไป.......)